การมีแบรนด์สินค้าเป็นของตนเอง เพื่อขายผ่านช่องทางออนไลน์ เป็นธุรกิจในฝันสำหรับหลายคน แต่ติดปัญหาตรงขั้นตอนการผลิตสินค้าอันยุ่งยาก ทั้งการคิดค้นและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ซึ่งต้องใช้ทั้งทุนทรัพย์และเวลาเป็นอย่างมาก จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่จะมีคนถอดใจจนพับโครงการไปเสียก่อน
ดังนั้น เราจึงจะแนะนำให้รู้จักกับธุรกิจ OEM ซึ่งเป็นหนทางที่จะช่วยผู้ประกอบการทำตามความฝัน ด้วยการเริ่มต้นสร้างแบรนด์ธุรกิจได้ แม้ไม่มีโรงงานเป็นของตนเอง
OEM คืออะไร ?
OEM หรือ Original Equipment Manufacturer หมายถึงธุรกิจรับจ้างผลิตสินค้าตามคำสั่งของแบรนด์ต่าง ๆ ซึ่งเจ้าของแบรนด์สามารถนำไปติดโลโก้ เพื่อทำการตลาด หรือออกแบบบรรจุภัณฑ์ตามต้องการได้ โดยไม่ต้องลงทุนตั้งโรงงานผลิตสินค้า ซึ่งช่วยลดภาระในกระบวนการผลิตสินค้า และต้นทุนที่เกี่ยวข้องได้อย่างดี เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับคนที่ต้องการสร้างแบรนด์สินค้าออนไลน์ แม้ไม่มีโรงงานผลิตเป็นของตัวเอง
กระบวนการทำงานของธุรกิจ OEM คืออะไร ?
การเริ่มต้นสร้างธุรกิจด้วยบริการ OEM มีขั้นตอนที่ค่อนข้างง่ายและเหมาะสำหรับผู้ที่ไม่มีโรงงานผลิตของตัวเอง โดยกระบวนการหลัก ๆ มีดังนี้
1. ผู้ประกอบการเลือกโรงงานที่มีศักยภาพ
ขั้นตอนแรกคือการค้นหาและเลือกโรงงาน OEM ที่มีความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมที่ต้องการ เช่น โรงงานผลิตเครื่องสำอาง โรงงานผลิตอาหาร โรงงานผลิตน้ำยาทำความสะอาด โดยผู้ประกอบการควรตรวจสอบประวัติ ชื่อเสียง และมาตรฐานการผลิตของโรงงานให้ละเอียด เพื่อให้มั่นใจในคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่จะได้รับ
2. ออกแบบสูตรหรือผลิตภัณฑ์ร่วมกับโรงงาน
เมื่อเลือกโรงงาน OEM ได้แล้ว ผู้ประกอบการและโรงงานจะร่วมกันคิดค้นหรือปรับแต่งผลิตภัณฑ์ให้ตรงตามความต้องการ โดยโรงงานส่วนใหญ่มีสูตรพื้นฐานหรือต้นแบบผลิตภัณฑ์ให้เลือก และสามารถปรับเปลี่ยนให้เหมาะกับคอนเซปต์ของแบรนด์ได้ ช่วยให้ลดเวลาในการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างมาก
3. กำหนดแพ็กเกจและดีไซน์แบรนด์ของตนเอง
ขั้นตอนต่อมาคือการออกแบบบรรจุภัณฑ์ โลโก้ ชื่อผลิตภัณฑ์ รวมถึงรายละเอียดต่าง ๆ เพื่อเป็นการสร้างความโดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์ให้แก่แบรนด์ เพื่อสื่อสารไปยังลูกค้าโดยตรง และกระตุ้นให้เกิดการจดจำแบรนด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. โรงงานทำการผลิตและส่งมอบสินค้า
หลังจากเตรียมทุกอย่างพร้อมแล้ว โรงงานจะผลิตสินค้าตามจำนวนที่ตกลงไว้ และส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ประกอบการ สำหรับทำการตลาดและนำไปวางจำหน่ายในช่องทางออนไลน์ต่อไป
ตัวอย่างอุตสาหกรรมที่สามารถใช้บริการ OEM
ธุรกิจ OEM ครอบคลุมหลากหลายอุตสาหกรรม ทำให้ผู้ประกอบการมีตัวเลือกมากมายในการสร้างแบรนด์ของตนเอง ซึ่งอุตสาหกรรมที่นิยมใช้บริการ OEM ได้แก่
- ผลิตภัณฑ์วิตามิน อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ ซึ่งต้องการความรู้เฉพาะด้านและมาตรฐานการผลิตที่เข้มงวด
- เครื่องสำอาง สกินแคร์ เมกอัป ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผม ที่ต้องอาศัยการวิจัยและพัฒนาสูง
- อาหาร ทั้งอาหารแปรรูป ขนม เบเกอรี และอาหารสำเร็จรูป ซึ่งมีขั้นตอนการผลิตที่ยุ่งยาก ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในการควบคุมดูแล
- เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ชา กาแฟ น้ำผลไม้ ที่ต้องการพัฒนาสูตรให้มีความแตกต่าง และต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในการผลิต
- เครื่องแต่งกาย แฟชั่น อุปกรณ์กีฬา ที่ต้องการการออกแบบเฉพาะ เพื่อสร้างเอกลักษณ์ของแบรนด์

ข้อดีของ OEM สำหรับผู้ที่อยากสร้างแบรนด์สินค้าออนไลน์
การเลือกใช้บริการ OEM มีข้อดีหลายประการที่ช่วยให้ผู้ประกอบการออนไลน์สามารถเริ่มต้นธุรกิจได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
- ช่วยลดต้นทุนการผลิต เนื่องจากไม่ต้องลงทุนในเครื่องจักร โรงงาน หรือบุคลากรด้านการผลิตด้วยตนเอง จึงสามารถตั้งราคาที่แข่งขันในตลาดได้ง่าย
- ลดระยะเวลาการพัฒนา เพราะสามารถใช้ความเชี่ยวชาญ และสูตรพื้นฐานที่มีอยู่แล้วของโรงงาน OEM ได้ ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถนำสินค้าออกสู่ตลาดได้อย่างรวดเร็ว
- ปรับแต่งสินค้าได้ตามต้องการ เช่น กลิ่น สี รสชาติ หรือคุณสมบัติพิเศษต่าง ๆ เพื่อให้สินค้ามีเอกลักษณ์เฉพาะของแบรนด์
- คุณภาพสม่ำเสมอ เนื่องจากโรงงาน OEM ที่มีมาตรฐาน จะมีระบบควบคุมคุณภาพที่เข้มงวด ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่แบรนด์ได้เป็นอย่างดี
- ทุ่มเทกับการตลาดได้มากขึ้น โดยไม่ต้องกังวลกับกระบวนการผลิต เพิ่มโอกาสในการสร้างยอดขาย ซึ่งจะทำให้ธุรกิจเติบโต
วิธีเลือกโรงงาน OEM ที่เหมาะสม
การเลือกโรงงาน OEM ที่เหมาะสม เป็นปัจจัยสำคัญที่จะกำหนดความสำเร็จของแบรนด์ โดยผู้ประกอบการควรพิจารณาปัจจัยต่อไปนี้
ตรวจสอบมาตรฐานของโรงงาน
ปัจจัยแรกคือ ควรเลือกโรงงานที่ได้รับการรับรองมาตรฐานต่าง ๆ เช่น GMP (Good Manufacturing Practice), ISO, หรือมาตรฐานเฉพาะอุตสาหกรรม เพื่อความมั่นใจในคุณภาพการผลิตและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะสินค้าที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและความงาม
ตรวจสอบประวัติและความน่าเชื่อถือของโรงงาน
สิ่งสำคัญประการต่อมาคือ ผู้ประกอบการควรค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับประวัติ ผลงาน และความน่าเชื่อถือของโรงงาน ไม่ว่าจะเป็นระยะเวลาในการดำเนินธุรกิจ แบรนด์ที่เคยร่วมงานด้วย รวมถึงควรขอเยี่ยมชมโรงงานเพื่อดูกระบวนการผลิตจริง ซึ่งจะช่วยให้ตัดสินใจเลือกใช้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ตรวจสอบตัวอย่างสินค้าและคุณภาพ
อีกหนึ่งสิ่งที่ผู้ประกอบการไม่ควรมองข้ามคือ การขอตัวอย่างผลิตภัณฑ์จากโรงงาน เพื่อประเมินคุณภาพและความเหมาะสม รวมถึงการทดสอบผลิตภัณฑ์จริง ซึ่งจะช่วยให้เห็นภาพชัดเจนว่าโรงงานสามารถผลิตสินค้าตามที่ต้องการได้หรือไม่
มีความยืดหยุ่นในการผลิต
โรงงาน OEM ที่ดีควรมีความยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนหรือปรับแต่งผลิตภัณฑ์ตามความต้องการ รวมถึงสามารถรองรับปริมาณการผลิตที่หลากหลาย ตั้งแต่จำนวนน้อยสำหรับการทดลองตลาด ไปจนถึงปริมาณมากเมื่อสินค้าได้รับความนิยม ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถบริหารจัดสต๊อกสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ให้บริการอย่างมืออาชีพ
ผู้ประกอบการยังควรประเมินการให้บริการของโรงงาน ตั้งแต่การสื่อสาร การตอบสนองต่อคำถามหรือปัญหาต่าง ๆ และการให้คำปรึกษา โดยโรงงานที่เป็นมืออาชีพจะเป็นพันธมิตรที่ดีสำหรับผู้ประกอบการทุกราย
เปรียบเทียบราคา
สิ่งสำคัญประการสุดท้ายคือ การเปรียบเทียบราคาจากโรงงานหลายแห่ง เพื่อให้ได้ข้อเสนอที่เหมาะสมที่สุด แต่ไม่ควรให้ราคาเป็นปัจจัยเดียวในการตัดสินใจ เนื่องจากคุณภาพและความน่าเชื่อถือมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน
การทำ OEM เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ที่อยากมีแบรนด์สินค้าคุณภาพเป็นของตนเอง แต่นอกจากการมีแบรนด์สินค้าดี ๆ แล้ว การเลือกบริการ fulfilment ที่ครบวงจร จาก Scale Up ซึ่งมีระบบ Order Fulfilment ยังช่วยให้การดำเนินธุรกิจออนไลน์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สร้างยอดขายและส่งเสริมให้ธุรกิจเติบโต สนใจสอบถามเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ทาง LINE ID : https://lin.ee/HPXeKAo หรือโทร. 098 991 9356
ข้อมูลอ้างอิง:
- เช็คให้ชัวร์! ข้อดี-ข้อเสีย ก่อนจ้าง OEM ผลิตสินค้า. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2566 จาก https://www.smethailandclub.com/startup-digitalmarketing/6208.html
- ธุรกิจ OEM คืออะไร ทำไมถึงสำคัญกับคนที่เริ่มทำแบรนด์?. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2566 จาก https://tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php?bookID=8773&read=true&count=true

Scale Up ผู้นำด้านบริการ Fulfilment ระบบจัดการร้านค้าออนไลน์ที่ดูแลครอบคลุมทุกความต้องการด้านคลังสินค้าสำหรับธุรกิจ E-commerce ทั้งระบบ OMS (Order Management System) ระบบ WMS (Warehouse Management System) และอีกมากมาย ด้วยบริการครบวงจรที่ตอบโจทย์พ่อค้าแม่ค้ามือใหม่ รวมถึงผู้ประกอบการที่ต้องการขยายธุรกิจและจัดการออร์เดอร์ เพื่อเสริมยอดขาย พร้อมดูแลร้านค้าออนไลน์ให้ธุรกิจเติบโต